วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะแบบเรียลลิสม์ (Realism)
ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด




ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่
1.โดเมียร์
(Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน
2. คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม
3.มาเนต์
(Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคม เช่น การประกอบอาชีพ
4.โรแดง
(August Rodin, 1840 – 1917)
5.มีลเลต์ (Jean-Francois Millet)
ศิลปะเรียลลิสม์ (Realism) หรือ ศิลปะสัจนิยม โดยทั่วไปหมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริงดังที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ รวมถึง การสร้างสรรค์ภาพงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม (socially critical images) ภาพเกี่ยวกับชีวิตของคนเมืองและชนบท พวกชาวไร่ชาวนาในช่วงยุคสมัย ปฏิเสธเนื้อหาเรื่องราวในแบบคลาสสิคและเชิงเปรียบเทียบที่แฝงความหมาย
ขณะที่ทาง สุนทรียศาสตร์ หมายถึง คตินิยมทางศิลปะที่ยึดถือหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงและเป็นจริงดังที่สายตาเห็นอยู่ บางครั้งมีความหมายใกล้เคียงกับคำธรรมชาตินิยม จะแตกต่างกันบ้างตรงที่ธรรมชาตินิยมเน้นไปที่ธรรมชาติทั่วไป สัจนิยมเน้นชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเห็นว่าในความจริงนั้นมีความงามอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกับศิลปะอุดมคติ
ผลงานของ โอโนเร โดมิเยร์
ศิลปะเรียลลิสม์เกิดขึ้นประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1850-1880) มีจุดเริ่มต้นในประเทศฝรั่ง เศส โดยกลุ่มศิลปินที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของกลุ่ม นีโอ-คลาสสิคอิสม์ (คลาสสิคใหม่ คือความเคลื่อนไหวทางศิลปะซึ่งมีสุนทรียภาพแบบกรีกและโรมัน) และ กลุ่มโรแมนติกอิสม์ (จินตนิยม) ที่ยึดถือประเพณีหรือตัวตนเป็นหลัก หรือแสดงความคิดฝันเอาตามใจตนเอง ศิลปินเรียลลิสม์เห็นว่าศิลปะทั้งสองไม่ได้แสดงความกลมกลืนของชีวิต ยังคงลักษณะความเป็นอุดมคติอยู่ หาใช่ความจริงไม่
ดวยความเห็นว่า ศิลปะควรตั้งอยูบนพื้นฐานของความจริงตามธรรมชาติ ปฏิเสธเรื่องราวเกี่ยวกับความกล้าหาญ ความรุนแรงแบบโรแมนติกอิสม์ มาแสดงออกในรูปแบบง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน การใส่อารมณ์ตนเองถูกสลัดทิ้งออกไป เป็นลักษณะของการยึดวัตถุและการรู้จักสังเกตธรรมชาติ สร้างงานตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งศิลปินเชื่อว่าความงามอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในพระราชวังหรือที่ตามชนบท
ผลงานของ ฌอง-ฟรองซัวส์ มิเลต์
อีกทั้งยังเชื่อกันว่าศิลปะนั้นสอนกันไม่ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีความสามารถต่างกัน ศิลปะคือการเลียนแบบตามตาเห็น ศิลปินควรบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในยุคสมัยของตนเอาไว้ ไม่ใช่สร้างงานแบบโบราณนิยม เป็นการปฏิเสธแนวคลาสสิคและโรแมนติกอย่างสิ้นเชิง
ค.ศ.1855 มีการจัดนิทรรศ การศิลปะสัจนิยมครั้งที่ 1 ขึ้น นำโดย กูสตาฟ กูร์เบต์ นิทรรศเสมือนแทนการประท้วงและเป็นปฏิปักษ์ต่อหลักสุนทรียภาพของกลุ่มจินตนิยม ซึ่งมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในขณะนั้น รวมทั้งคัดค้านกลุ่มคตินิยมวิชาการด้วย นอกจากกูร์เบต์ จิตรกรร่วมแนวคิดคนสำคัญ ยังมี ฌอง-ฟรองซัวส์ มิเลต์ และ โอโนเร โดมิเยร์
ทั้งนี้ ศิลปะเรียลลิสม์ในเวลาต่อมาได้ให้แนวทางกับศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ กล่าวคือ ศิลปินเริ่มเรียนรู้แสงสีประกอบในวัตถุ รู้จักสังเกตแสงสีตามบรรยากาศต่างๆ
ศิลปะเรียลลิสม์นอกจากเกิดขึ้นจากความไม่เห็นด้วยกับศิลปะดังกล่าวแล้ว ยังได้รับแรงผลักดันจากสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในขณะนั้น
ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้สร้างปัญหาแก่สังคมและเศรษฐกิจมากมาย มีคนจน ชนชั้นกรรมาชีพเพิ่มขึ้น ศิลปินเรียลลิสม์ต้องการนำเสนอปัญหาในงานศิลปะ เพื่อนำความจริงตีแผ่ให้เพื่อนมนุษย์ได้รับรู้ โดยมักปฏิเสธเรื่องราวเกี่ยวกับคนชั้นสูงหรือคนรวย แต่เลือกสะท้อนภาพความลำบากของชนชั้นล่าง แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมตามพันธกิจซึ่งพวกเขาเห็นว่าภาระหน้าที่ของศิลปินคือการถ่ายทอดเรื่องราวที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ร่วมสมัย

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

 การใช Clone Stamp Tool ในโปรแกรม Photoshop ในการแต่งรูป
วิชา จิตรกรรมดิจิตอล 1




                                                                      before

                                                                     
                                                                           after

  

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555




ซีพียู คืออะไร ?
             ซีพียู (CPU) คือ อุปกรณ์ตัวหนึ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นในการทำงานของ
คอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นหัวใจของคอมพิวเตอร์เลยก็ได้ ซีพียู เป็นตัวควบคุมการ
ทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงที่
ต่อร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดย จะเป็นตัวกำหนดความสำคัญของอุปกรณ์ว่าตัวใดมีความสำคัญ
มากกว่าซึ่งหากติดตั้งอุปกรณ์ 2 ตัวที่อินเทอรัพ, การแจ้งกับซีพียูว่าจะขอเฉพาะอุปกรณ์ที่มี
ความสำคัญมากกว่าเท่านั้น ส่วนตัวที่สำคัญน้อยกว่าจะไม่สามารถใช้งานได้ เช่น ถ้าเราต่อ
การ์ดจอภาพกับการ์ดเสียงที่อินเทอรัพเดียวกัน ซีพียู จะเลือกให้ใช้ได้เฉพาะการ์ดจอภาพ
เท่านั้น



CPU ทำหน้าที่อะไร
             CPU หรือ Central Processing Unit เป็นหัวใจหลักในการประมวลของคอม
พิวเตอร์ โดยพื้นฐานแล้วซีพียูทำหน้าที่ประมวลผลข้อมูลเชิงคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกะ
เท่านั้น แต่ทำไมการคำนวณขนาดนี้ ต้องมีการพัฒนาซีพียูกันไม่หยุดหย่อน ย้อนกลับไปปี
1946 คอมพิวเตอร์ยุคแรกที่มีชื่อที่พอจะจำได้ก็คือ ENIVAC นั้นทำงานโดยใช้หลอดไดโอด  
ซึ่งสถานะการทำงานของหลอดพวกนี้ มีสองอย่าง คือ 1 กับ 0 จะมีค่าเป็น 1 เมื่อมีกระแสไหล
ผ่านและเป็น 0 เมื่อไม่มีกระแสไหลผ่าน นั่นจึงเป็นเหตุผลให้คอมพิวเตอร์ใช้เลขฐาน 2 ในการ
คำนวณ ครั้นต่อมา
วิทยาการก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ จากหลอดไดโอดก็พัฒนาเป็นทรานซิสเตอร์ และจากทรานซิส
เตอร์ก็พัฒนาเป็นวงจรขนาดเล็ก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ IC และในที่สุดก็พัฒนาเป็น Chip อย่าง
ที่เรารู้จักกันมาจนปัจจุบันนี้
สิ่งที่ผู้ผลิตซีพียูพยายามเพิ่มก็คือ ประสิทธิภาพในการประมวลผลของซีพียู เมื่อกล่าวถึงซีพียู
และการประมวลผล สิ่งหนึ่งที่เราต้องเข้าใจคือภายในซีพียูไม่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำหรับเก็บข้อมูล
ปริมาณมากๆ และซีพียูในยุคแรกๆ ก็ไม่มี Cache ด้วยซ้ำไป ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู
ก็คือ ความเร็วในการประมวลผลและความเร็วในการโอนย้ายข้อมูล ซีพียูในยุคแรกๆ นั้นประมวล
ผลด้วยความเร็ว 4.77 MHz และมีบัสซีพียู (CPU BUS) ความกว้าง 8 บิต เรียกกันว่าซีพียู 8 บิต
 (Intel 8080 8088) นั้นก็คือซีพียูเคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 1 ไบต์ ยุคต่อมาเป็นซีพียู 16 บิต 32
   บิต และ 64 บิต ปัจจุบันโดยเฉพาะซีพียูรุ่นใหม่ๆ เคลื่อนย้ายข้อมูลครั้งละ 128 บิต ในการ
เคลื่อนย้ายข้อมูลนั้น เกิดขึ้นจากการควบคุมสัญญาณนาฬิกา ซึ่งนับสัญญาณเป็น Clock 1 เช่น
ซีพียู 100 MHz หมายความว่าเกิดสัญญาณนาฬิกา 100 ครั้งต่อวินาที
กลไกการทำงานของซีพียู
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วย
ความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุม
การทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น
โดย
แบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็ว
ขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อความเร็วของซีพียู
ความสามารถในการประมวลผล (Processing Power) คือประสิทธิภาพและความเร็ว
ในการทำงาน ของซีพียู ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดหรือรุ่นของซีพียู เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
(Personal Computer) โดยทั่วไปจะใช้ซีพียูในตระกูลของอินเทล เช่น Pentium I,
Pentium II, Pentium III ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นจะใช้ซีพียูที่ต่างกันออกไป
คอมพิวเตอร์ทำงานด้วยความเร็วที่แตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้
• รีจิสเตอร์
• หน่วยความจำภายนอก
• สัญญาณนาฬิกา เป็นจังหวะ สัญญาณ (Pulse) ในหนึ่งรอบสัญญาณ (Clock Cycle)

คอมพิวเตอร์จะคำนวณหนึ่งครั้ง ส่วนความเร็วของรอบสัญญาณ คือจำนวนรอบของสัญญาณ
ต่อวินาทีซึ่งมีความเร็วมากกว่า 100 ล้านรอบต่อวินาที (100 Megahertz) (แอนนา 2540: 9)
• บัส
• หน่วยความจำแคช
• Passing Math Operation