วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ศิลปะแบบเรียลลิสม์ (Realism)
ศิลปินกลุ่มเรียลิสม์มีความเชื่อว่าความจริงทั้งหลายคือความเป็นอยู่จริง ๆ ของชีวิตมนุษย์ ดังนั้น ศิลปินกลุ่มนี้จึงเขียนภาพที่เป็นประสบการณ์ตรงของชีวิต เช่น ความยากจน การปฏิวัติ ความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยการเน้นรายละเอียดเหมือนจริงมากที่สุด




ศิลปินสำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่
1.โดเมียร์
(Daumier) ชอบวาดรูปชีวิตจริงของความยากจน
2. คูร์เบต์ (Courbet) ชอบวาดรูปชีวิตประจำวันและประชดสังคม
3.มาเนต์
(Manet) ชอบวาดรูปชีวิตในสังคม เช่น การประกอบอาชีพ
4.โรแดง
(August Rodin, 1840 – 1917)
5.มีลเลต์ (Jean-Francois Millet)
ศิลปะเรียลลิสม์ (Realism) หรือ ศิลปะสัจนิยม โดยทั่วไปหมายถึง การสร้างงานที่เหมือนจริงดังที่ปรากฏอยู่ในธรรมชาติ รวมถึง การสร้างสรรค์ภาพงานในเชิงวิพากษ์วิจารณ์สังคม (socially critical images) ภาพเกี่ยวกับชีวิตของคนเมืองและชนบท พวกชาวไร่ชาวนาในช่วงยุคสมัย ปฏิเสธเนื้อหาเรื่องราวในแบบคลาสสิคและเชิงเปรียบเทียบที่แฝงความหมาย
ขณะที่ทาง สุนทรียศาสตร์ หมายถึง คตินิยมทางศิลปะที่ยึดถือหลักการสร้างงานให้เหมือนจริงและเป็นจริงดังที่สายตาเห็นอยู่ บางครั้งมีความหมายใกล้เคียงกับคำธรรมชาตินิยม จะแตกต่างกันบ้างตรงที่ธรรมชาตินิยมเน้นไปที่ธรรมชาติทั่วไป สัจนิยมเน้นชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ โดยเห็นว่าในความจริงนั้นมีความงามอย่างสมบูรณ์อยู่แล้ว ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกับศิลปะอุดมคติ
ผลงานของ โอโนเร โดมิเยร์
ศิลปะเรียลลิสม์เกิดขึ้นประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1850-1880) มีจุดเริ่มต้นในประเทศฝรั่ง เศส โดยกลุ่มศิลปินที่ไม่เห็นด้วยกับการทำงานของกลุ่ม นีโอ-คลาสสิคอิสม์ (คลาสสิคใหม่ คือความเคลื่อนไหวทางศิลปะซึ่งมีสุนทรียภาพแบบกรีกและโรมัน) และ กลุ่มโรแมนติกอิสม์ (จินตนิยม) ที่ยึดถือประเพณีหรือตัวตนเป็นหลัก หรือแสดงความคิดฝันเอาตามใจตนเอง ศิลปินเรียลลิสม์เห็นว่าศิลปะทั้งสองไม่ได้แสดงความกลมกลืนของชีวิต ยังคงลักษณะความเป็นอุดมคติอยู่ หาใช่ความจริงไม่
ดวยความเห็นว่า ศิลปะควรตั้งอยูบนพื้นฐานของความจริงตามธรรมชาติ ปฏิเสธเรื่องราวเกี่ยวกับความกล้าหาญ ความรุนแรงแบบโรแมนติกอิสม์ มาแสดงออกในรูปแบบง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน การใส่อารมณ์ตนเองถูกสลัดทิ้งออกไป เป็นลักษณะของการยึดวัตถุและการรู้จักสังเกตธรรมชาติ สร้างงานตามสภาพความเป็นจริง ซึ่งศิลปินเชื่อว่าความงามอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ไม่ว่าจะในพระราชวังหรือที่ตามชนบท
ผลงานของ ฌอง-ฟรองซัวส์ มิเลต์
อีกทั้งยังเชื่อกันว่าศิลปะนั้นสอนกันไม่ได้ เป็นเรื่องเฉพาะตัวที่แต่ละคนมีความสามารถต่างกัน ศิลปะคือการเลียนแบบตามตาเห็น ศิลปินควรบันทึกเหตุการณ์ที่เป็นความจริงในยุคสมัยของตนเอาไว้ ไม่ใช่สร้างงานแบบโบราณนิยม เป็นการปฏิเสธแนวคลาสสิคและโรแมนติกอย่างสิ้นเชิง
ค.ศ.1855 มีการจัดนิทรรศ การศิลปะสัจนิยมครั้งที่ 1 ขึ้น นำโดย กูสตาฟ กูร์เบต์ นิทรรศเสมือนแทนการประท้วงและเป็นปฏิปักษ์ต่อหลักสุนทรียภาพของกลุ่มจินตนิยม ซึ่งมีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในขณะนั้น รวมทั้งคัดค้านกลุ่มคตินิยมวิชาการด้วย นอกจากกูร์เบต์ จิตรกรร่วมแนวคิดคนสำคัญ ยังมี ฌอง-ฟรองซัวส์ มิเลต์ และ โอโนเร โดมิเยร์
ทั้งนี้ ศิลปะเรียลลิสม์ในเวลาต่อมาได้ให้แนวทางกับศิลปะอิมเพรสชั่นนิสม์ กล่าวคือ ศิลปินเริ่มเรียนรู้แสงสีประกอบในวัตถุ รู้จักสังเกตแสงสีตามบรรยากาศต่างๆ
ศิลปะเรียลลิสม์นอกจากเกิดขึ้นจากความไม่เห็นด้วยกับศิลปะดังกล่าวแล้ว ยังได้รับแรงผลักดันจากสภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในขณะนั้น
ผลพวงจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมได้สร้างปัญหาแก่สังคมและเศรษฐกิจมากมาย มีคนจน ชนชั้นกรรมาชีพเพิ่มขึ้น ศิลปินเรียลลิสม์ต้องการนำเสนอปัญหาในงานศิลปะ เพื่อนำความจริงตีแผ่ให้เพื่อนมนุษย์ได้รับรู้ โดยมักปฏิเสธเรื่องราวเกี่ยวกับคนชั้นสูงหรือคนรวย แต่เลือกสะท้อนภาพความลำบากของชนชั้นล่าง แสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมตามพันธกิจซึ่งพวกเขาเห็นว่าภาระหน้าที่ของศิลปินคือการถ่ายทอดเรื่องราวที่สอดคล้องกับสภาพสังคม และสอดคล้องกับชีวิตความเป็นอยู่ร่วมสมัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น